สาระน่ารู้

 

ปารีณา ไกรคุปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา
ปารีณา ไกรคุปต์
ม.ว.ม.ป.ช.
ปารีณาในปี 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 (44 ปี)
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2548–2549)
ชาติไทย (2550–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2551–2556)
เพื่อไทย (2556–2557)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสอุปกิต ปาจรียางกูร (หย่า)
ชื่อเล่นเอ๋

ปารีณา ไกรคุปต์ (ชื่อเล่น เอ๋ เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต 3 และเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ[1] ชนะการเลือกตั้งมาแล้ว 4 สมัย

ประวัติ

ปารีณา ไกรคุปต์​ เกิดเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519[2] เป็นชาวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี[2]

บิดาของปารีณา คือ นายทวี ไกรคุปต์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี[2] มารดาของปารีณา คือ นางสิริบังอร ไกรคุปต์

ปารีณาสมรสกับนายอุปกิต ปาจรียางกูร[2] มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ กล้าเกล้า ไกรคุปต์, อดิศรา ปาจรียางกูร และกิตตรา ปาจรียางกูร[2] ก่อนจะหย่าร้างกันในเวลาต่อมา

ปารีณาได้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจากสหรัฐ[3]

งานทางการเมือง

ปารีณาเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 สืบต่อจากบิดา ครั้งแรกปารีณาลงสมัครในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาย้ายไปพรรคชาติไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ ตามลำดับ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทย → พรรคชาติไทยพัฒนา
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ทั้งนี้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 2 ครั้ง ที่ปารีณาได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะในภายหลัง

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 จังหวัดราชบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย

กระแสวิพากษ์วิจารณ์

การใช้คำพูด

ปารีณาเป็นผู้ทำให้คำว่า "อีช่อ" เป็นที่นิยมในการเรียกพาดพิงพรรณิการ์ วานิช (ชื่อเล่นว่า ช่อ) อย่างกว้างขวางในสังคม แต่ถูกสื่อสังคมวิจารณ์ว่าเป็นการใช้คำหยาบคายว่านักการเมืองจากพรรคอนาคตใหม่พรรคพวกของตน ปารีณาให้เหตุผลว่า "อีช่อ" เป็นคำท้องถิ่นและเป็นคำที่ใช้ในบ้านของตน[4] นอกจากนี้ ปารีณาทำนายว่าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะถูกยุบ ทำให้สื่อสังคมคาดเดาไปต่าง ๆ นานา[5]

ในทวิตเตอร์มีการติดแฮชแท็กถึงปารีณามากมาย เช่น "#ปารีณาค้าอาวุธ" รวมถึงวิจารณ์การใช้คำผิด ๆ ของเธอ เช่น ปารีณาเขียนว่า "ลุงตู๋" ทำให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ติดแฮชแท็กว่า "#พลังประชารัฐโป๊ะแตก"[6]

การแสดงความคิดเห็นเชิงพาดพิง

"เมื่อมีคนพยายามเปลี่ยน แต่เปลี่ยนไม่ได้ เพราะสังคมมีความฉลาด คนหนึ่งจัดฉากยิงตัวตาย ไม่ตาย ไม่เนียน เพราะเป็นคนมีความชำนาญเรื่องปืน และกระสุนปืน ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือ ต้องการทำลายสถาบันศาล โกหก ใส่ร้าย จัดฉาก แต่ไม่เนียน สังคมฉลาดพอ มันไม่ง่ายหรอกที่จะทำลายล้างสถาบันที่มีความเข้มแข็ง"

ตอนหนึ่งที่ปารีณากล่าวถึงคณากร เพียรชนะ[7]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ปารีณาได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัววิจารณ์กรณีสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกทำร้าย ว่าเป็นการสร้างกระแสเพื่อใส่ร้ายรัฐบาล และเรียกคะแนนสงสาร[8] จนตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส สมาชิกพรรคเพื่อไทย วิจารณ์ปารีณาว่า ปารีณารู้ดียิ่งกว่าตำรวจ[9] พร้อมฝากคำถามถึงปารีณาเกี่ยวกับพิรุธในเหตุการณ์[9]

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17:25 น. ปารีณาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีข้อความช่วงหนึ่งได้มีการกล่าวในเชิงพาดพิง หลังจากข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเชื่อว่าเป็นการกล่าวถึงคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่ใช้อาวุธปืนยิงตัวเองหลังอ่านคำพิพากษา ภายในห้องพิจารณาคดีชั้น 3 ของศาลาจังหวัดยะลาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ในปีเดียวกัน[10]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 มีข่าวว่าปารีณาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโต้เถียงกับ ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ซึ่งชาวเน็ตมองว่ากำลังเบี่ยงเบนความสนใจจาก CPTPP[11]

คดีความ

ฟาร์มไก่

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดตรวจสอบการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. กรณีฟาร์มไก่เขาสนฟาร์ม ของปารีณา พบว่าอยู่เขต ส.ป.ก. กว่าพันไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีชื่อของทวี ไกรคุปต์ บิดาของปารีณาเป็นผู้ถือครอง[12]

วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า พร้อมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มไก่ของปารีณา หลังจากที่ ส.ป.ก. ทำหนังสือถึงปารีณาให้คืนที่ดินจำนวน 682 ไร่ บริเวณฟาร์มไก่ ให้กับ ส.ป.ก. ภายใน 7 วัน อย่างไรก็ตาม ปารีณาได้ทำหนังสือส่งมอบคืนที่ดินทั้งหมดให้ทางเลขา ส.ป.ก. เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา ธรรมนัสจึงเข้ามารับมอบคืนพื้นที่ด้วยตนเอง[13]

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดราชบุรี ได้นำป้ายประกาศยึดพื้นที่ไปติดหน้าฟาร์มไก่ของปารีณา แต่ยังมีคนอยู่ข้างในพื้นที่ภายในฟาร์มไก่[14]

วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563 เกิดเหตุเพลิงไหม้ในฟาร์มไก่โดยไม่ทราบสาเหตุ เหตุการณ์ครั้งนี้มีโรงไก่ถูกไฟไหม้เสียหาย 1 โรงเรือน แม้จะไม่มีไก่ในโรงดังกล่าวแล้ว แต่อุปกรณ์เลี้ยงไก่ที่อยู่ภายในได้เสียหายเกือบทั้งหมด ปารีณายืนยันว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากไม่มีการใช้ไฟฟ้าในฟาร์มไก่มานานแล้ว อีกทั้งผู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากไฟป่า[15][16] อย่างไรก็ตาม หลังจากปารีณาได้โพสต์ภาพความเสียหายของฟาร์มไก่ที่ถูกเพลิงไหม้ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ปรากฏว่ามีชาวสังคมออนไลน์ที่ใช้เฟซบุ๊กเข้ามากดปุ่มหัวเราะ(Haha) ในโพสต์ดังกล่าว ประมาณ 17,000 ครั้ง ขณะที่คนกดถูกใจ(Likes) อยู่ที่ประมาณ 3,500 ครั้ง ส่วนเสียใจ(Sad) อยู่ที่ประมาณ 500 ครั้ง[17]

รางวัลที่ได้รับ

  • นางงามมิตรภาพในปี พ.ศ. 2544 (ประกวดในนางสาวไทย หมายเลข 60)[18][19]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น